แผ่นดินไหวรุนแรง 6.5 เขย่าฟิลิปปินส์ เช็กสถานการณ์ไทย - เมียนมา

แผ่นดินไหวรุนแรง 6.5 เขย่าฟิลิปปินส์ เช็กสถานการณ์ไทย-เมียนมา

ระทึกวันนี้ สถานการณ์แผ่นดินไหวรุนแรง 6.5 เขย่าฟิลิปปินส์ ทางตะวันออกของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ สั่นสะเทือนไกลถึงไหน? ห่างกรุงเทพฯ 3 พันกิโลเมตร อัปเดตแผ่นดินไหวไทย - เมียนมา

กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา จับตาสถานการณ์ใกล้ชิด เกิดเหตุ "แผ่นดินไหว" รุนแรง 6.5 ทางตะวันออกของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ สั่นสะเทือนไกลถึงไหน? ห่างกรุงเทพฯ ประเทศไทย 3 พันกิโลเมตร พร้อมอัปเดต แผ่นดินไหวไทย-เมียนมา ตลอดคืนที่ผ่านมา

แผ่นดินไหวรุนแรง 6.5 เขย่าฟิลิปปินส์ เช็กสถานการณ์ไทย - เมียนมา

ระทึกครั้งใหม่ แผ่นดินไหว 6.5 เขย่าฟิลิปปินส์ เช้านี้

เมื่อเวลา 08.58 น. ตามเวลาประเทศไทย ประชาชนทั่วโลกต่างจับตา เหตุแผ่นดินไหว ครั้งใหญ่ขนาด 6.5 แมกนิจูด บริเวณตะวันออกของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ มหาสมุทรแปซิฟิก ที่พิกัด (8.00°N,129.87°E) โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ความลึก 10 กิโลเมตร เหตุการณ์ครั้งนี้อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประเทศไทยออกไปประมาณ 3,267 กิโลเมตร

แผ่นดินไหวรุนแรง 6.5 เขย่าฟิลิปปินส์ เช็กสถานการณ์ไทย - เมียนมา

นับเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความกังวลถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในวงกว้าง แม้จะอยู่ห่างจากประเทศไทยพอสมควร แต่ความรุนแรงของแผ่นดินไหวในระดับนี้ ย่อมต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

แผ่นดินไหวรุนแรง 6.5 เขย่าฟิลิปปินส์ เช็กสถานการณ์ไทย - เมียนมา

สถานการณ์แผ่นดินไหวไทย-เมียนมา ล่าสุด

ในขณะที่ฟิลิปปินส์กำลังเผชิญหน้ากับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ประเทศไทย และเมียนมาก็มีรายงานการเกิดแผ่นดินไหวเช่นกัน โดยในประเทศไทย มีรายงานแผ่นดินไหว 1 ครั้งที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเวลา 01.56 น. ด้วยขนาด 1.9 แมกนิจูด บริเวณศูนย์กลาง ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ที่ความลึกเพียง 1 กิโลเมตร ณ พิกัด (19.621°N , 98.956°E)

แผ่นดินไหวรุนแรง 6.5 เขย่าฟิลิปปินส์ เช็กสถานการณ์ไทย - เมียนมา

แผ่นดินไหวรุนแรง 6.5 เขย่าฟิลิปปินส์ เช็กสถานการณ์ไทย - เมียนมา

ส่วนในประเทศเมียนมา พบการเกิดแผ่นดินไหวถึง 2 ครั้งติดต่อกัน โดยครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเวลา 01.20 น. ขนาด 1.8 แมกนิจูด ความลึก 10 กิโลเมตร ณ พิกัด (19.935°N , 98.020°E) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 52 กิโลเมตร

แผ่นดินไหวรุนแรง 6.5 เขย่าฟิลิปปินส์ เช็กสถานการณ์ไทย - เมียนมา

และเพียง 4 นาทีต่อมา เมื่อเวลา 01.24 น. ก็เกิดแผ่นดินไหวซ้ำอีกครั้ง ขนาด 2.5 แมกนิจูด ที่ความลึก 10 กิโลเมตร ณ พิกัด (19.690°N , 96.270°E) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 183 กิโลเมตร แม้แผ่นดินไหวในไทยและเมียนมาจะมีขนาดไม่รุนแรง แต่ก็เป็นสัญญาณที่ต้องเฝ้าระวัง และเตรียมพร้อมรับมืออยู่เสมอ

แผ่นดินไหวรุนแรง 6.5 เขย่าฟิลิปปินส์ เช็กสถานการณ์ไทย - เมียนมา

แผ่นดินไหวรุนแรง 6.5 เขย่าฟิลิปปินส์ เช็กสถานการณ์ไทย - เมียนมา

รู้หรือไม่ ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวเป็นอย่างไร

เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับความรุนแรงของแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแบ่งระดับความรุนแรง (Intensity) ซึ่งแตกต่างจากขนาด (Magnitude) ที่ใช้วัดพลังงานที่ปล่อยออกมา

โดยความรุนแรงจะวัดจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น และหลังเกิดแผ่นดินไหว เช่น ความรู้สึกของผู้คน ความเสียหายของอาคาร หรือการเปลี่ยนแปลงของภูมิประเทศ โดยประเทศไทยใช้มาตราเมอร์คัลลี ซึ่งแบ่งออกเป็น 12 อันดับ ดังนี้

แผ่นดินไหวขนาด 1-2.9 

  • เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนเริ่มรู้สึกเวียนศีรษะ

แผ่นดินไหวขนาด 3-3.9 

  • เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้ที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน

แผ่นดินไหวขนาด 4-4.9 

  • เกิดการสั่นไหวปานกลาง ผู้คนทั้งใน และนอกอาคารรู้สึกถึงการสั่นสะเทือน วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว

แผ่นดินไหวขนาด 5-5.9 

  • เกิดการสั่นไหวรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่

แผ่นดินไหวขนาด 6-6.9 

  • เกิดการสั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย และพังทลาย

แผ่นดินไหวขนาด 7.0 ขึ้นไป 

  • เกิดการสั่นไหวร้ายแรง อาคาร สิ่งก่อสร้างเสียหายอย่างมาก แผ่นดินแยก และวัตถุบนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น

ช่องทางดูสัญญาณการเกิดแผ่นดินไหวล่าสุด

ประชาชนสามารถติดตามการรายงานแผ่นดินไหวเรียลไทม์ผ่านเว็บไซต์กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว (คลิก)

แผ่นดินไหวรุนแรง 6.5 เขย่าฟิลิปปินส์ เช็กสถานการณ์ไทย - เมียนมา

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์